• Home
  • Site Map
  • Contact Us
  • Tourism News
  • About Us
    • History
    • Philosophy
    • Management Team
    • Key Contacts
    • Meet Us
    • Careers
    • Tourism Publications
    • Investor
  • Lng : English
  • หน้าหลัก
  • สถานที่น่าสนใจ
  • รายละเอียดบริษัท
  • การฝึกปฏิบัติทางจิตวิญญาณ
  • เรียนรู้พุทธศาสนา

วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว

img

วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว หรือ ศรีดาลาดะ มาลิกาวะ ตั้งอยู่ที่พระราชวังโบราณเมืองแคนดี้ พระทันตธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าถูกนำมายังศรีลังกา โดยเจ้าชายดันธะและเจ้าหญิงหิมามาละ ในรัชสมัยของพระเจ้ากีรติศรี เมกะวารนะในช่วงศตวรรษที่ 4 พระธาตุเขี้ยวแก้วกลายมาเป็นสิ่งคุ้มครองกษัตริย์แห่งศรีลังกาและยังถูกปกปักษ์รักษาไว้เป็นอย่างดีในวิหารพิเศษที่สร้างขึ้นใกล้กลับที่ประทับในนครแคนดี้ ดาลาดะ มาลิกาวะในแคนดี้สร้างโดยพระเจ้าวิมาลาธรรมะสุริยาที่หนึ่ง ในช่วงคริสตศักราช 1592 วัดที่มีชื่อว่าปัลเลวิหารสร้างขึ้นโดยพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์ และศาลาทรงแปดเหลี่ยมสร้างโดยพระเจ้าศรีวิกรมราชสิงห์ เมืองศักดิ์สิทธิ์แคนดี้ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์กรยูเนสโกเมื่อปี ค.ศ.1988 เพราะคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว ศิลปะและสถาปัตยกรรมในอาณาบริเวณของวัดเป็นแบบแคนดี้ ทางเข้าหลักของวัดเรียกว่ามหาวาฮัลกาดะ มีหินแกะสลักพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวมูนสโตน (ซันดาคาดะปาฮานะ) อย่างวิจิตรบรรจงอยู่ตรงทางเข้า มาคาระโธรานะและรูปปั้นหินเฝ้าประตูสองตัวถูกวางไว้ด้านบนสุดของบันได วิหารหลักแบ่งออกเป็นสองส่วนคือชั้นล่างและชั้นบน ด้านบนเรียกว่าเวทสิทธินะ มาลายะ พิธีแห่ที่สำคัญของดาลาดะ มาลิกาว

ะคือพิธีแห่พระธาตุเขี้ยวแก้วที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม พิธีนี้มีขึ้นเพื่อสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้ว โดยจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้อัญเชิญพระธาตุ หัวหน้าผู้พิทักษ์ของวัดเป็นที่รู้จักในนามดิยาวาดานะ นิลาเม ส่วนพระสงฆ์แห่งมัลวัตตุ และอัสกิริยะจะทำพิธีสักการะพระธาตุเขี้ยวแก้วประจำวันซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อพิธีเทวาวะโดยจะทำวันละสามครั้ง

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ต้นศรีมหาโพธิ์

img

ต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นไม้ทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ต้นศรีมหาโพธิ์ถูกนำมายังศรีลังกาโดยพระสังฆมิตตาเถรีและถูกปลูกเอาไว้ที่มหาเมฆวนาที่เมืองอนุราธปุระ โดยกษัตริย์เทวานัมปิยาติสสะ ภายใต้การชี้แนะของท่านอรหันต์มหินธูมหาเถโร

ต้นศรีมหาโพธิ์ที่นำมาปลูกนี้เป็นกิ่งของต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองพุทธคยา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยประทับนั่งทำสมาธิในตอนที่ตรัสรู้ นี่คือของขวัญแห่งความเชื่อแต่พระเจ้าเทวานัมปิยาติสสะจากพระเจ้าอโศกมหาราช ตามคำกราบบังคมทูลขอของพระอรหันต์มหินท พระโอรส ต้นไม้นี้อยู่ในตระกูล “อัสวัสธา” ในภาษาสันสกฤต “อัสวัธธา” ในภาษาบาลี “เอสุธา” ในภาษาสิงหล

กษัตริย์ผู้ปกครองศรีลังกาหลายพระองค์มีส่วนช่วยในการพัฒนาและฟื้นฟูสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระเจ้าวัสสะปะ พระเจ้าโวหาริกา ติสสะ กระเจ้ามหานาค และพระเจ้าเสนาที่สอง ในรัชสมัยของพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์ กำแพงที่เห็นอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นโดยพระอิลุปันเทนิเยอัททะทัสสิเถระ ในปี 1969

ชาวพุทธจำนวนหนึ่งได้สร้างรั้วทองคำล้อมรอบต้นไม้ศักดิ์สิทธินี้ภายใต้การนำของพระญติระวานานาราดาเถระ รั้งเหล็กที่อยู่ด้านล่างรั้วทองคำสร้างโดยประชาชนแห่งโกนาคลาภายใต้การนำของกระญากิรลาปันนานันทาเถระ มีห้องแสดงภาพและต้นโพธิ์อีกหลายต้น (ต้นโพธิ์ปริวารา) ในบริเวณที่ปลูกต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิด้วย

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

เกลาณียะราชมหาวิหาร

img

เคละนิยะ ราชมหาวิหารตั้งอยู่ที่เมืองเคละนิยะ ในเขตกัมปาฮะ วัดเคละนิยะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแต่การมาเยือนศรีลังกาเป็นครั้งที่สามและเป็นครั้งสุดท้าย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าแปดปีหลังจากการตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังเคละนิยะตามคำเชิญของพระเจ้ามานิยัคคิธธะ

ในมหาวงศ์ได้มีการบันทึกไว้ว่าสถูปแต่ดั้งเดิมที่เคละนิยะเป็นที่ประดิษฐานบัลลังค์ประดับอัญมณีที่พระพุทธเจ้าทรงประทับแสดงธรรม ดังนั้นประวัติศาสตร์ของวัดแห่งนี้จึงย้อนกลับไปเมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล วัลเคละนิยะมีชื่อเสียงเรื่องภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเป็นผลงานของโซเลียส เมนดิส ศิลปินผู้มีชื่อเสียง ภาพเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของวัดและนิทานชาดกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ พิธีเดินขบวนแห่ซึ่งรู้จักกันในชื่อเคละนิยะ ดุรุธุ เประเฮระ

จะมีขึ้นในวันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนมกราคมของทุกปี พิธีแห่นี้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1927 ขบวนแห่งเคละนิยะ ดุรุธุ เประเฮระ นี้มีเพื่อระลึกถึงการเสด็จมาเยือนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีความสำคัญในเชิงศาสนา ขบวนแห่หลักจะถูกนำด้วยขบวนแห่ของพิเภก วิษณุและกตรกามะ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดเคละนิยะ คือ พระคุณเจ้าศาสตราจารย์คอลลุปิติเย มหินทะ สังการะคิธธะเถระ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

โลวามหาปายะ (โลหะปราสาท)

img

โลวามหาปายะ หรือ โลหะปราสาท คือหนึ่งในแปดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอนุราธปุระ ตั้งอยู่ระหว่างต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์และสถูปรุวันเวลิในป่ามหาเมฆของเมืองอนุราธปุระ สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชโดยกษัตริย์ดูตุกามุนุ มีลักษณะเป็นคฤหาสน์หลังมหึมาขนาดเก้าชั้น ที่แห่งนี้ได้ชื่อว่า “โลวามหาปายะ” ในเวลานั้นเพราะหลังคาปูด้วยกระเบื้องโลหะ ดังนั้นจึงได้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Brazen Palace (โลหะปราสาท) ในช่วงการครองราชย์ของพระเจ้าสัทธติสสะ ผู้ครองบัลลังก์ต่อจากผู้สร้างปราสาทแห่งนี้ โลวามหาปายะถูกทำลายจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้

จากนั้นจึงถูกสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งโดยเป็นอาคารขนาดเจ็ดชั้น ว่ากันว่าโลวามหาปายะถูกทำลายลงโดยพระเจ้ามหาเสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 3 แต่ภายหลังผู้ที่ครองราชย์ต่อก็สร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ปราสาทแห่งนี้ถูกบูรณะเมื่อศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าปาระกรามะบาหุมหาราชแห่งเมืองโปโลนนารุวะ ปัจจุบันสถานที่อันเกรียงไกรแห่งนี้หลงเหลือแต่เพียงเสาหินจำนวนหนึ่งพันหกร้อยต้น

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

วัดลังการาม

img

วัดลังการามคือหนึ่งในแปดสถานที่ศักดิ์สิทธิของเมืองอนุราธปุระ ตั้งอยู่ระหว่างป้อมปราการโบราณและสถูปอภัยคีรี ล้อมรอบด้วยวฎะทาเคหรือเจดีย์ทรงกลม

สถูปได้รับการบูรณะเมื่อตอนปลายศตวรรษที่ 19 และส่วนของสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็คือเสารอบๆ สถูป ชื่อวัดลังการามไม่ได้ปรากฏอยู่ในรายชื่ออารามพุทธที่อนุราธปุระ แต่นักวิชาการบางคนเชื่อว่าวัดแห่งนี้คือศิลาโสภากันดา เจริยา ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าวาลากัมบาหุซึ่งครองเกาะแห่งนี้อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 1 ในยุคก่อนคริสตกาล ส่วนนักวิชาการคนอื่นๆ เชื่อว่านี้คืออารามมณีโศมารามซึ่งกษัตริย์องค์ดังกล่าวสร้างขึ้น

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

อภัยคีรี

img

อภัยคีรีคือหนึ่งในอารามสำคัญของอนุราธปุระ อภัยคีรีประกอบไปด้วยสถูปขนาดใหญ่และอารามหลายแห่งรวมถึงเจดีย์บรรจุอัฐิอีกหลายพัน สถูปแห่งวัดอภัยคีรีก่อสร้างโดยพระเจ้าวาลากัมบาหุเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล หลังจากรื้อถอนอารามเชนออกไปจากบริเวณ

สถูปตั้งอยู่ทางตอนเหนือของป้อมปราการและได้รับการยอมรับในฐานะหนึ่งในแปดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอนุราธปุระ สถูปแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสถูปที่สูงที่สุดในโลกและยังคงสูงกว่าระดับพื้น 75 เมตร แต่ปัจจุบันเป็นซากปรักหักพังไปแล้ว บริเวณรอบๆ

สถูปประกอบไปด้วยอารามพุทธหลายแห่งรวมถึงสระแฝด สระช้าง พระพุทธรูปปางสมาธิ ปิโสมาลิกายะ มหาเสนมาลิกายะ รัตนะปราสาท และคาปาระราม

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

เชตวันราม

img

วัดเชตวนารามตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของรุวันเวลิเสยะ และมีสถูปเชตวัน สถูปที่ได้รับการยอมรับว่าสูงที่สุดในโลกเป็นศูนย์กลาง สถูปนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้ามหาเสนาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 และปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอนุราธปุระ อารามแห่งนี้ถือกำเนิดและถูกพัฒนาจากอารามให้เป็นมหาวิหาร เชื่อกันว่าวัดเชตวันเอนเอียงทางนิกายมหายานมากกว่าเถรวาท ตัววัดประกอบไปด้วยสถูปเชตะวัน วิหารต้นโพธิ์ ห้องแสดงภาพ ห้องประชุมสงฆ์ โรงทาน ปัญจวาส และบ่อน้ำ วิหารต้นโพธิ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์

โดยกำแพงที่ล้อมรอบอยู่มีลักษณะคล้ายกลับรั้วแบบพุทธที่สถูปสันจิ ตัวสถูปถูกบูรณะโดยกองทุนวัฒนธรรมกลางหลังจากปี 1980

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

มิหินตเล

img

มิหินตเลได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนาในศรีลังกา ที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่ดึงดูดคนได้มากที่สุดในศรีลังกาและเป็นหนึ่งในแปดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอนุราธปุระ ถึงแม้จะตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองราว 11 กิโลเมตรก็ตาม มิหินตเลเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่งเพราะเป็นสถานที่ซึ่งพระอรหันต์มหินทะเถระเดินทางมาพำนักขณะมาอยู่ศรีลังกาหลายปีในฐานะผู้วางรากฐานศาสนาพุทธในศรีลังกา

ชื่อมหินตเลก็ได้มาจากชื่อของพระอรหันต์มหินทะเถระนั่นเอง นอกจากนั้นยังเป็นที่รู้จักในชื่อ “สกิริยะ” หรือ “เชติยากิริยะ” เพราะมีสถูปจำนวนมากอยู่ที่มิหินตเล ตามที่กล่าวไว้ในมหาวงศ์ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะแห่งอนุราธปุระได้พบกับพระอรหันต์มหินทะเถระเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ว่ากันว่าจุดที่ทั้งสองพบกันได้กลายมาเป็นที่ตั้งของสถูปอัมบัสตาละในปัจจุบัน มิหินตเลอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์แห่งอนุราธปุระหลายพระองค์ที่นับถือศาสนาพุทธ และอารามที่มิหินตเลก็กินอาณาเขตพื้นที่ภูเขาถึงสามลูก และพื้นที่ขนาดใหญ่ที่อยู่ล้อมรอบภูเขาด้วย มีถ้ำหรือเพิงหินจำนวน 68 แห่งสำหรับพระสงฆ์ ในบริเวณนี้ยังมีซากปรักหักพังอีกมากมาย เช่น สถูปพุทธขนาดใหญ่ตรงกลางเนินมิหินตเล และสถูปอื่นๆ อย่างเช่น สถูปอัมบัสตาละ อินดิกะตุเซยะ คันทากะเชติยะ มหาเซยะ

โรงทานและโรงพยาบาลสงฆ์ที่มิหินตเลคือตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอนุสรณ์สถานในศรีลังกา มีบ่อน้ำหลายแห่ง อาทิ คาลุดิยะโพคุนะ สิงหะโพคุนะ นาคโพคุนะ ซึ่งยิ่งทำให้ภูมิทัศน์ของที่งดงาม ยังมีเจดีย์บรรจุอัฐิอีกนับพัน ๆ ทั้งที่ระบุและไม่ระบุชื่อกระจัดกระจายอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างที่มิหินตเล

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

มิริเศวตติยะ

img

มิริเศวตติยาสถูปและอารามที่อยู่ล้อมรอบคือส่วนหนึ่งของมหาวิหารแห่งเมืองอนุราธปุระ สถูปมิริเศวตติยายังเป็นหนึ่งในแปดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอนุราธปุระด้วย สถูปแห่งนี้สร้างโดยพระเจ้าดูตุกะมุนุเมื่อศตรวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล โดยให้เป็นที่ประดิษฐานคฑาของพระองค์และพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า ตามตำนานกล่าวว่าพระเจ้าดูตุกะมุนุได้สร้างสถูปนี้เพื่อเป็นการลงโทษ (พระองค์เอง) ที่เสวยแกงเผ็ดโดยไม่ได้ถวายให้แก่มหาสงฆ์ (อย่างที่มักจะทำเป็นประจำ) สถูปมิริเศวตติยะสูงเกือบ 120 ฟุตและได้รับการบูรณะโดยพระเจ้านิสสันคามัลละแห่งเมืองโปโลนนารุวะเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถูปที่ถูกทำลายลงถูกสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี 1896

โดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากกษัตริย์มหาจุฬาลงกรณ์แห่งสยาม นอกจากสถูปแล้วยังมีซากปรักหักพังของอารามที่กว้างขวางที่ประกอบไปด้วยโรงอาหาร ห้องประชุมสงฆ์ และห้องพักของพระหลายร้อยรูป

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

รุวันเวลิเสยะ

img

รุวันเวลิเสยะ คือหนึ่งในสถานที่ทางศาสนาที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับชาวพุทธ และเป็นหนึ่งในแปดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอนุราธปุระ เป็นอาคารหลักของมหาวิหารเมืองอนุราธปุระ และตั้งอยู่ระหว่างต้นศรีมหาโพธิ์และสถูปธูปราม รุวันเวลิเสยะสร้างขึ้นโดยพระเจ้าดูตุกะมุนุเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล บทกวีมหาวงศ์ได้กล่าวถึงรุวันเวลิเสยะว่าเป็น “มหาธูปะ” ตามตำนานมีต้นไม้ที่เป็นที่สถิตของนางไม้นามว่า “สุวรรณมาลี” อยู่ตรงนี้ก่อนที่จะมีการสร้างสถูปขึ้น ดังนั้นสถูปจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “สุวรรณมาลีมหาเจดีย์” ว่ากันว่าการสร้างสถูปแห่งนี้เป็นงานที่พระเจ้าดูตุกะมุนุได้รับมอบหมายจากพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พระบิดา ตามที่จารึกที่สถานที่แห่งนี้ได้กล่าวไว้

ทว่าพระเจ้าดูตุกะมุนุกลับสร้างเสร็จถึงเพียงแค่ส่วนที่เป็นโดมเท่านั้น พระเจ้าสัธธะติสสะ พระอนุชาและรัชทายาทของพระองค์ เป็นผู้สร้างส่วนที่เหลือของสถูปจนแล้วเสร็จ มีการต่อเติมสถูปและอารามโดยรอบโดยกษัตริย์แห่งอนุราธปุระและอาณาจักรโปโลนนารุวะ สถูปที่หักพังได้รับบูรณะใหม่เมื่อศตวรรษที่ 19 และแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1944

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ตันติริมาเล ราชมหาวิหาร

img

ตันติริมาล ราชมหาวิหารตั้งอยู่ที่เขตทางเหนือตอนกลางของเมืองอนุราธปุระ โดยตั้งอยู่ห่างจากเมือง 47 กิโลเมตร บนถนนสายอนุราธปุระ-วิลัชชิยา ตันติริมาเลมีความสำคัญในฐานะสิ่งก่อสร้างที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยอารามพุทธขนาดใหญ่ เพิงหินที่ตันติริมาเลมีศิลปะจากหินเป็นภาพวิถีชีวิตของชาวศรีลังกาในยุคดึกดำบรรพ์ เชื่อกันว่าตันติริมาเลอยู่ภายใต้การปกครองของพราหมณ์ที่รู้จักในชื่อติวันกะเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล

ที่นี่เคยเป็นที่พักของต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งในตอนนี้ที่พระสังฆมิตตะเถรีนำต้นโพธิ์จากเมืองจัมโบโกละปัตตนะไปยังเมืองอนุราธปุระ ในบรรดาอนุสรณ์ยุคโบราณที่ตินติริมาล สถานที่ที่สวยงามที่สุดคือพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่แกะสลักออกมาจากหินทั้งหมด ยังมีสถานที่สำคัญอื่นๆ อีกรวมถึงอารามแบบปัทนาคาระ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ถูปาราม

img

สถูปถูปารามคือสถูปแห่งแรกที่สร้างขึ้นในประเทศศรีลังกาหลังจากที่มีการกำหนดให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ที่นี่เป็นหนึ่งในแปดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอนุราธปุระ ซึ่งก่อสร้างโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะตามคำขอของพระอรหันต์มหินทะเถระเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล สถูปแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรุวันเวลิเสยะ และอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำบาซาวัคคุลามะทางด้านหนึ่ง และป้อมปราการทางอีกด้านหนึ่ง ตามที่กล่าวในมหาวงศ์ กระดูกไหปลาร้าด้านขวา (พระรากขวัญ)

ของพระพุทธเจ้าถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่สถูปแห่งนี้ สถูปถูกสร้างขึ้นเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่หลังการบูรณะเมื่อศตวรรษที่ 19 ก็กลายเป็นทรงระฆัง สถูปแห่งนี้ล้อมรอบโดยคัททิยาการะทรงกลม (วาตะดาเก) ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเป็นเสาหินสามแถวที่อยู่ล้อมรอบสถูป ถูปารามคือส่วนสำคัญของอารามที่มีชื่อเดียวกันและซากปรักหักพังของอารามที่ยังมีให้เห็นประกอบไปด้วยห้องประชุมสงฆ์และอาคารอื่นๆ อีกมากมายรอบ ๆ สถูป

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

พระพุทธรูปพระอวุกนะ

img

อวุกนะเป็นที่รู้จักจากพระพุทธรูปของวัดในชื่อเดียวกันที่พบใกล้กับกัลวีวาในเขตอนุราธปุระ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินปางประทับยืนบนกลีบดอกบัวสูง 11.36 เมตร

พระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธรูปอวุกนะอยู่ในท่าอภัยมุทราและพระหัตถ์ขวาปล่อยลงข้างลำตัว เชื่อกันว่าพระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าดาตูเสนาแห่งอาณาจักรอนุราธปุระเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ทีฆวาปีราชมหาวิหาร

img

ทีฆวาปีราชมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตอัมปาระทางด้านตะวันออก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน 16 สถานที่สำคัญทางศาสนาพุทธในศรีลังกา

ในมหาวงศ์ระบุว่าสถูปทีฆวาปีถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าสัธธะติสสะเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลโดยกรอบด้านนอกตกแต่งด้วยดอกบัวทองคำและอัญมณี

ที่ตั้งของสถูปเป็นจุดที่พระพุทธเจ้านั่งวิปัสสนาร่วมกับเหล่าพระอรหันต์เมื่อคราวที่มาเยือนศรีลังกาเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยเหตุที่ว่าสถานที่แห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์เพราะพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาเยือน จึงเป็นที่เชื่อกันอย่างแพร่หลายว่านี่คือสถูป “ปาริโบกิคะ” และไม่มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ภายใน แต่นักวิชาการบางคนก็เชื่อว่ามีพระธาตุส่วนที่เป็นเล็บของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ในสถูปนี้ เขตอารามรอบๆ สถูปได้รับความอนุเคราะห์จากกษัตริย์หลายองค์ รวมถึงพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์แห่งแคนดี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วย

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

โดวาราชมหาวิหาร

img

โดวาราชมหาวิหารตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองบันทราเวลาบนถนนสายบันทราเวลา-บาดุลลาในเขตอุวา

เชื่อว่าวัดแห่งนี้ก่อสร้างโดยพระเจ้าวาลากุมบาในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล มีพระพุทธรูปยืนหินแกะสลักสูง 38 ฟุตที่ยังสร้างไม่เสร็จ นอกจากนั้นยังมีสถูปเล็กๆ และวัดถ้ำที่มีผลงานจิตรกรรมฝาผนังโดยศิลปินสมัยกัณฏาด้วย

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

มหิยานกานะ ราชมหาวิหาร

img

พระพุทธเจ้าได้ประทานเส้นเกศาหนึ่งกำมือจากพระเศียรของพระองค์ให้แก่เขาเพื่อเป็นสัญลักษณ์สำหรับการบูชา ซึ่งภายหลังเทพเจ้าซามันก็นำไปประดิษฐานไว้ในสถูปขนาดเล็ก หลังจากการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์สรภูได้นำเอากระดูกไหปลาร้าด้านซ้าย (พระรากขวัญ) ของพระพุทธเจ้ามายังศรีลังกาและนำเข้าประดิษฐานในสถูปเดียวกันโดยการขยายขนาดสถูปให้ใหญ่ขึ้น นับแต่นั้นกษัตริย์หลายองค์ได้ทำการบูรณะและขยายขนาดสถูปเรื่อยมา งานบูรณะที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1953 และสิ้นสุดลงในปี 1980 โดยมีการทำยอดสถูปใหม่

นับแต่นั้นกษัตริย์หลายองค์ได้ทำการบูรณะและขยายขนาดสถูปเรื่อยมา งานบูรณะที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1953 และสิ้นสุดลงในปี 1980 โดยมีการทำยอดสถูปใหม่

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

มุธิยานกาเน ราชมหาวิหาร

img

มุธิยานกาเน ราชมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตบาดุลละ แคว้นอุวะ ตำนานเล่าว่านี่เป็นหนึ่งในสถานที่ที่พระพุทธเจ้ามาพระทับอยู่ร่วมกับพระอรหันต์องค์อื่นๆ ระหว่างการมาเยือนศรีลังกาเป็นครั้งที่สาม ดังนั้นมุธิยานกาเน ราชมหาวิหารจึงเป็นหนึ่งใน 16 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศรีลังกา

แหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์บูชาวาลิยะและราชรัตนคารายะบ่งชี้ว่าสถูปมุธิยานกาเนก่อสร้างขึ้นโดยพระเจ้าเดตุติสสะ พระโอรสของพระเจ้าโกตาบายะในสมัยคริสตศตวรรษที่ 3 แต่ตำนานได้กล่าวว่าสถูปแห่งนี้สร้างขึ้นโดยเทพเจ้าศรีอินดิกะในช่วงที่พระพุทธเจ้ายังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ตำนานปรัมปราพื้นบ้านเล่าว่าหยดเหงื่อของพระพุทธเจ้าที่เปลี่ยนเป็นไขมุกถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

เบลลันวิลา

img

เบลลันวิลาราชมหาวิหารคือวัดพุทธที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในเขตโคลอมโบ หลักฐานทางประวัติศาสตร์เผยให้เห็นว่าต้นโพธิ์ที่วัดนี้คือหนึ่งในหน่อของต้นศรีมหาโพธิ์ที่อนุราธปุระและถูกนำมาปลูกเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล

ดังนั้นประวัติศาสตร์ของวัดเบลลันวิลาจึงย้อนกลับไปจนถึงสมัยของพระเจ้าเทวนัมปิยะติสสะ

วัดแห่งนี้ถูกทิ้งร้างหลังจากโปรตุเกสรุกรานศรีลังกา ก่อนจะถูกค้นพบอีกครั้งโดยพระเดชพระคุณเจ้าเทนโกดาเกทราเถระ นอกจากต้นโพธิ์ดังกล่าวแล้วก็ยังมีสถูป

ห้องจัดแสดงภาพที่เต็มไปด้วยภาพวาดอันงดงามและกุฏิพระให้เข้าชม นอกจากนั้นยังมีเทวาลัยหลักสี่แห่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่เทพศรีวิษณุ กตรคาม พัธธินี และสามัน

ผนังของห้องจัดแสดงภาพของวิหารถูกตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือของโสมาบันดู วิทยาพาที

จิตกรรมฝาผนังเหล่านี้เป็นภาพพุทธประวัติและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เทศกาลเบลลันวิลาเอซาลาเปราเหราจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมหรือกันยายนของทุกปี เทศกาลนี้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1947 ในสมัยของพระเดชพระคุณเจ้าเบลลันวิลาโสมารัตนนายากาเถระซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนวัดนี้ให้กลายเป็นวัดพุทธอย่างสมบูรณ์

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

วัดคงคาราม

img

วัดคงคารามคือหนึ่งในวัดสมัยใหม่แห่งแรกๆ ที่โคลัมโบ ตั้งอยู่ใกล้กับทะเลสาบเบราในกรุงโคลัมโบ วัดแห่งนี้ก่อตั้งโดยพระคุณเจ้าฮิกกะดุวะศรีสุมังคลาเถระเมื่อศตวรรษที่ 19 สถาปัตยกรรมและงานออกแบบของวัดได้รับอิทธิพลมาจากศรีลังกาและประเทศอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ ประเทศไทย จีน และอินเดีย ต้นโพธิ์ สถูป และห้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และวัดสีมามะลากะ คือ องค์ประกอบสำคัญของสถานที่แห่งนี้ วัดสีมามะลากะออกแบบโดยจอฟฟรีย์ บาวา สถาปนิกคนดังเมื่อปี 1979 วัดแห่งนี้มีประพุทธรูปปางต่างๆ มากมาย ศิลปวัตถุ พระบรมธาตุ เหรียญโบราณ และรถยนต์เก่า พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดของวัดตั้งอยู่ภายในเขตวัด

พิธีแห่พระธาตุของวัดคงคารามเป็นขบวนแห่ที่งดงามตระการตาซึ่งเริ่มถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 โดยจัดขึ้นในกุมภาพันธ์ของทุกปี ทุกปีในเดือนเมษายนระหว่างช่วงปีใหม่ของชาวสิงหลและทมิฬ วัดจะจัดให้การสวดปริตร (บทสวดของชาวพุทธ) เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ พระคุณเจ้ากาละโบดะ คนานิสสาระเถระเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดคงคารามและวัดยังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อว่าศรีจินรัตนะด้วย

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

โกฏเฏราชมหาวิหาร

img

โกฏเฏราชมหาวิหารเป็นวัดพุทธโบราณตั้งอยู่ที่ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏใกล้กับกรุงโคลัมโบ วัดแห่งนี้ถูกประกาศให้เป็นแหล่งโบราณคดีโดยรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2013 เจ้าอาวาสของวัดคือพระคุณเจ้าอลุธนุวาระ อนุรุธถาเถระ พระเจ้าปาระกรามะบาหุที่หกเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ใกล้กับพระราชวังของพระองค์ด้วยความตั้งใจที่จะแจกจ่ายเครื่องเซ่นไหว้ให้กับชุมชนชาวสิงหล ห้องแสดงภาพของโกฏเฏราชมหาวิหารแบ่งออกเป็นสองห้อง ได้แก่ ห้องด้านในและด้านนอก ห้องด้านในตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังสมัยแคนดี้

และห้องด้านนอกที่เพิ่งจะสร้างได้ไม่นานตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมสมัยใหม่ พิธีแห่โกฏเฏคาลาดะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อบูชาพระธาตุเขี้ยวแก้วศักดิ์สิทธิ์ งานพิธีแห่เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1415 โดยพระเจ้าปาระกรามะบาหุที่หกโดยได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนจากพระคุณเจ้าวีดากามะ ไมตรีเถระ หลังการล่มสลายของอาณาจักรแคนดี้ ก็ไม่มีพิธีแห่อีก จนในปี 1901 ท่านอัมบัลกามะ วิมาละติสสะเถระได้นำพิธีแห่กลับมาอีกครั้ง

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

มหาเมียวนา

img

อารามพุทธมหาเมียวนา เป็นสถานที่สำหรับทุก ๆ คน ไม่ว่าจะมาจากประเทศใด หรือ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นชาวพุทธหรือไม่ก็ตาม ที่นี่เราจะได้พบเห็นผู้คนในชุมชนที่มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ผู้ซึ่งสนใจใฝ่หาในความสุขซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการบริโภคที่ไม่รู้จบ และการเก็บสะสมสิ่งของให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ด้วยการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะได้รับความสุขสงบที่มิได้ผูกติดยึดโยงกับวิถีชีวิตตามรูปแบบปรกติ

อารามพุทธมหาเมียวนา ถูกสร้างขึ้นเพื่อการพัฒนาจิตวิญญาณ โดยผ่านหลักคำสอนของพระพุทธองค์ โดยพระคุณเจ้าคิริบัธโกดะ นานานันดะ เถโร เป็นผู้จัดตั้งขึ้นในปีค.ศ.1999 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือเผยแผ่คำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

อารามแห่งนี้ถือเป็นวัดที่ทันสมัยอีกแห่งหนึ่งในกรุงโคลัมโบ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

สิตุลพาววะ

img

สิตุลพาววะ เป็นเขตสงฆ์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติยาละ ในเขตฮัมบันโตตะใกล้กับชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ อารามโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากติสสะมหาราม 24 กิโลเมตรไปตามถนนติสสะ-สิตุลพาววะ ที่นี่ได้รับการระบุว่าเป็นวิหาร “จิตตะละปะบาธะ” ก่อตั้งโดยพระเจ้าคาวันติสสะแห่งติสสะมหารามในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล มีการเปิดเผยว่าเมื่อช่วงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลในสมัยพระเจ้าวาละกัมบะ มีพระสงฆ์จำวัดอยู่ที่นี่ถึง 12,000 รูป

อารามแห่งนี้ประกอบไปด้วยเพิงพักหินจำนวนมากและที่เพิงพักเหล่านี้ยังมีจารึกอักขระพราหม์ด้วย

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ติสสะมหาราม ราชมหาวิหาร

img

ติสสะมหาราม ราชมหาวิหาร อยู่ที่ติสสะในเขตฮัมบันโตตะทางตอนใต้ ที่นี่เป็นหนึ่งใน 16 สถานที่ทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ในประเทศศรีลังกา เพราะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาเยือน สถูปของวัดติสสะมหารามราชมหาวิหารเป็นสถูปสมัยอาณาจักรโรฮานะที่ใหญ่ที่สุดในทางตอนใต้ของศรีลังกา ตามบันทึกพงศาวดาร

สถูปแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นโดยพระเจ้าคาวันติสสะเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุส่วนที่เป็นกระดูกหน้าผาก (พระนลาฏ) ของพระพุทธเจ้า แต่จารึกที่ค้นพบใกล้กับวัดติสสะมหารามเผยให้ได้ทราบว่าที่นี่ได้กลายเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า เขตวัดติสสะมหารามถูกสร้างขึ้นรอบๆ สถูปนี้และในปัจจุบันก็แทบจะเหลือแต่ซากแล้ว ติสสะมหารามราชมหาวิหารที่เห็นอยู่ในปัจจุบันในบริเวณสถูปก่อสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ดัมบะโคละปาตุนะ

img

ดัมบะโคละปาตุนะ หรือจัมบะโคละ ปัตตนะ คือท่าเรือโบราณทางตอนเหนือของเมื่อจาฟฟ์นาใกล้กับกัณเกสันธุรัย ตามที่บันทึกไว้ในมหาวงศ์ พระสังฆมิตตะเถรีได้เทียบท่าที่ดัมบะโคละปาตุนะพร้อมกับหน่อของต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์เมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะแห่งอนุราธปุระได้เดินทางไปยังดัมบะโคละปาตุนะ เพื่อรับพระสังฆมิตตะเถรี และพานางไปยังอนุราธปุระในขบวนแห่อย่างเป็นพิธีการ ภายหลังกษัตริย์ทรงปลูกหนึ่งในแปดหน่อแรกของต้นโพธิ์ลงที่ดัมบะโคละปาตุนะ ปัจจุบันมีวัดพุทธที่ดัมบะโคละปาตุนะที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวนี้

นาคธีปะวิหาร

img

วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ “นัยนาติวู” หรือเกาะนาคธีปะแห่งคาบสมุทรจาฟฟ์นา การเดินทางมายังเกาะนาคธีปะต้องนั่งเรือจากจาฟฟ์นามาเป็นเวลา 30 นาที ตามตำนานเล่าว่าพระพุทธเจ้าได้เดินทางมายังเกาะนาคธีปะในครั้งที่สองที่เสด็จมาเยือนศรีลังกาเพื่อแก้ไขข้อบาดหมางระหว่างพญานาคสองตนในเรื่องดวงอัญมณีและเชื่อกันว่าดวงมณีนั้นถูกประดิษฐานอยู่ในสถูปนาคธีปะนี่เอง ดังนั้นนาคธีจึงเป็นหนึ่งใน 16 สถานที่สำคัญทางศาสนาพุทธในศรีลังกา ปัจจุบันนี้มีสถูปที่ชื่อว่าสถูปราชายาธนาและต้นโพธิ์

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

คันเดวิหาร

img

คันเดวิหาร ตั้งอยู่ที่อลุธกามะในเขตคาลุทาระ วัดแห่งนี้ได้ชื่อมาจากการที่มันตั้งอยู่บนยอดเนินเขา (คำว่าเนินเขาภาษาสิงหลคือคันดะ) นี่คือหนึ่งในอนุสรณ์สถานทางโบราณคดีที่ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองในเขตคาลุทาระ ที่นี่ก่อสร้างโดยพระคุณเจ้าคาระปากาละ เทวะมิตตะเถระเมื่อปี 1734 ภายใต้การนำของพระคุณเจ้าอุดุกามะ จันทราสาระเถระ และพระคุณเจ้าเด็ดดุวะ ธรรมนันทะเถระ คันดิวิหารมีชื่อเสียงจากพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดใหญ่ในท่าภูมิผัสสะมุทรา ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปนั่งที่ใหญ่ที่สุดที่เพิ่งก่อสร้างขึ้นที่ศรีลังกาเมื่อไม่นานมานี้โดยมีความสูง 48.8 ม. (160 ฟุต) ในเขตวัดประกอบไปด้วยสถูป ต้นโพธิ์ ห้องจัดแสดงภาพ ห้องประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเทวาลัยที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าอุบลวรรณ กตรคาม และพัทธินี สถูปถูกสร้างขึ้นในรูปทรงระฆัง และตั้งอยู่ในร่มแปดเหลี่ยม

พื้นทางเดินเข้าสู่ห้องประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุประดับด้วยพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวมูนสโตน ผนังด้านในและเพดานตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังสมัยแคนดี้ ห้องแสดงภาพแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนในและส่วนนอก ที่ส่วนในมีพระพุทธรูปปางต่างๆ เช่น พระพุทธรูปยืน นั่ง และนอน ที่นี่มีต้นโพธิ์อายุเกิน 300 ปี มีพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดอยู่ด้านนอกวัด

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

วัดคาลุทาระ

img

วัดคาลุทาระ ตั้งอยู่ใกล้กับสะพานคาลุคงคา ทางเขตตะวันตก ก่อนนี้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อคงคาธิลากะวิหาร ผู้คนที่สัญจรผ่านวัดแห่งนี้มักจะขอพรโดยการสักการะต้นโพธิ์ที่วัดเพื่อให้เดินทางปลอดภัย ต้นโพธิ์คาลุทาระโพธิยานี้คือหนึ่งใน 32 หน่อของต้นศรีมหาโพธิ์ที่ปลูกในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล สถูปของวัดสร้างขึ้นเมื่อ 1970 ตามแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ยังมีสถูปขนาดเล็กอยู่ด้านในสถูปหลักซึ่งล้อมรอบไปด้วยพระพุทธรูปและมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่ด้านในสถูปด้วย สถูปถูกสร้างขึ้นโดยเซอร์ซีริล เดอ ซอยซา โดยการออกแบบร่วมกันระหว่างจัสติน ซามาระเซเกระ และ เอ. เอ็น. เอส. คุละสิงเห กิจกรรมการปรับปรุงวัดครั้งล่าสุดนำโดยสมาคมชาวพุทธคาลุทาระในปี 1931 มีการก่อตั้งกองทุนคาลุทาระ โพธิยะขึ้นมาในปี 1951 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ “ปกป้องและดูแลต้นโพธิ์ประวัติศาสตร์คาลุทาระ โพธิยะ”

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

เดกัลโดรุวะ ราชมหาวิหาร

img

เดกัลโดรุวะ ราชมหาวิหาร อยู่ที่เดกัลโดรุวะใกล้กับคันดะสาเลในเขตแคนดี้ ตามประวัติศาสตร์ถ้ำแห่งนี้ถูกใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์เมื่อครั้งที่ทรงก่อสร้างกัลมาดุวะวิหาร พระองค์ได้ทุ่มเทความสนพระทัยให้กับการปรับปรุงถ้ำแห่งนี้ให้เป็นราชมหาวิหาร สถานที่สำคัญในราชมหาวิหารแห่งนี้ก็คือห้องแสดงภาพที่อยู่ในถ้ำ มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์และอื่นๆ อีกหลายองค์ในถ้ำ ถ้ำเป็นที่อนุรักษ์ภาพวาดแบบแคนดี้และพระพุทธรูปที่เกี่ยวข้องกับสมัยแคนดี้เอาไว้ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงประจำวัดนี้คือ “Suppression of Mara”

นอกจากนั้นแล้วยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังนิทานชาดก อย่างเช่น เวสสันดร สุตโสม สีลวะ และสัตตุบาตตะ ในบรรดาภาพทั้งหมดนี้ภาพของเวสสันดรชาดกได้รับการยกย่องว่ามีความสร้างสรรค์ที่สุด เทวาระกัมโปละ ศีลวัธเทนะ พระจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในสมัยแคนดี้เป็นผู้วาดรูปภาพเหล่านี้

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

วัดกาดาละเดนิยะ

img

วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านกาดาละเดนิยะ เมืองอุดุนุวาระในเขตแคนดี้ สามารถเดินทางไปได้โดยใช้ถนนสายโคลัมโบ-แคนดี้และเลี้ยวไปทางดาอุลากาละที่แยกเอ็มบิลิมิกามะ จารึกที่พบที่วัดระบุว่าวิหารและเทวาลัยในสถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีที่ 3 ในรัชสมัยของพระเจ้าบุวาเนคะบาหุที่สี่ และสถาปนิกมีชื่อว่ากาเนชวราจิ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นช่างฝีมือชาวอินเดียใต้

นอกจากนั้นจารึกที่กาดาละเดนิยะยังอ้างว่าเทวาลัยที่นี่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปกปักษ์รักษาวิหาร สถาปัตยกรรมของห้องแสดงภาพที่วัดกาดาละเดนิยะเป็นแบบวิจายานากะ สร้างจากหินและรูปแบบก็สะท้อนถึงอิทธิพลของทั้งพุทธและฮินดูในสถาปัตยกรรม นอกจากห้องแสดงภาพนี้แล้วยังมีสถานที่สำคัญเรียกว่า “วิจาโยธปายะ” ซึ่งเป็นสถูปที่มีเพิงพักพิงอยู่ดานในและมีสถูปน้อยอีกสี่แห่งล้อมรอบอยู่ อีกทั้งยังมีต้นโพธิ์โบราณ ห้องประชุมสงฆ์ และอนุสรณ์อื่นๆ อีกไม่กี่แห่งด้วย

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ลังกาติละกะวิหาร เมืองแคนดี้

img

ลังกาติละกะวิหารคือหนึ่งในวัดสำคัญที่สร้างขึ้นในช่วงยุคกลางของศรีลังกา วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่อุดุนุวาระในเขตแคนดี้ ประวัติศาสตร์ของวัดนี้ย้อนกลับไปเมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 บันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่าลังกาติละกะวิหารถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าบุวาเนคะบาหุ ที่ปกครองอาณาจักรกัมโปละตั้งแต่ ค.ศ. 1341 ถึง 1351

ลังกาติละกะวิหารได้ชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่งดงามตระการตาที่สุดในสมัยกัมโปละ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พบว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นอาคารสี่ชั้นสูง 80 ฟุต ปัจจุบันเหลือเพียงสามชั้น งานออกแบบและสถาปัตยกรรของลังกาติละกะวิหารเป็นผลงานของสัธธไป เรเยอร์ สถาปนิกชาวอินเดียใต้ นักวิชาการกล่าวว่าวัดแห่งนี้ผสมผสานงานออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยโปโลนนารุวะเข้ากับงานออกแบบดราวิเดียน (อินเดีย) และอินโด-จีน ลังกาติละกะวิหารถูกสร้างขึ้นบนชั้นหินที่เรียกว่าปันฮากาละ มีเทวาลัยห้าแห่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับวัดและเทวาลัยเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อถวายเทพเจ้า ได้แก่ อุบลวรรณ คเณศ ซามัน พิเภก และกุมาระบันดาระ มีหินที่จารึกข้อความทั้งในภาษาสิงหลและทมิฬอยู่ในบริเวณวัด จากข้อความในจารึกทำให้ทราบว่าที่ดินแห่งนี้เป็นของขวัญที่กษัตริย์มอบให้แก่วัดพร้อมกับอาคารสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

อัธคาดะวิหาร

img

อัธคาดะวิหาร อยู่ในเมืองคุรุเนกาละ ของจังหวัดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าพระเจ้าสุระติสสะ อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้เมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล นี่คือวัดถ้ำตรงเชิงเขาอัธกาละ ก้อนหินขนาดมหึมาที่เมืองคุรุเนกาละ วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปและภาพจิตกรรมสมัยแคนดี้

มีการค้นพบต้นฉบับนิทานชาดกภาษาสิงหลที่เกี่ยวแก่ที่สุดที่วัดแห่งนี้ ซึ่งถูกนำไปเก็บรักษาและจัดแสดงภายในบริเวณของวัดในปัจจุบัน

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

วิจายะสุนทราราม ดัมบาเดนิยะ

img

เชื่อกันว่าวิหารทัมปิตะในศรีวิจายะสุนทรารามเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุโบราณแห่งอาณาจักรดัมบาเดนิยะ

วิหารทัมปิตะที่ค้นพบในบริเวณนี้ถูกระบุว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเป็นอาคารสามชั้นสร้างโดยพระเจ้าปาระกรามะบาหุที่สอง (ค.ศ. 1244-1279) โอรสของพระเจ้าวิจายะบาหุที่สาม ตัวอาคารถูกปรับให้เป็นวิหารทัมปิตะขนาดสองชั้นโดยหัวหน้าผู้พิทักษ์มีกัสธันเน อดิการัม หรือที่เป็นรู้จักในชื่อดัมบาระ มหานิลามี ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าศรีวิกรมราชสิงห์ (ค.ศ. 1798-1815)

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

รัมโบดะกัลละ

img

วัดโมนาระกาละในรัมโบดะกัลละ ในเขตคุรุเนกาละเป็นวัดสมัยใหม่ที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้แสวงบุญ โดยวัดแห่งนี้เพิ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง วัดอยู่ห่างจากคุรุเนกาละ 20 กิโลเมตรและห่างจากริดิวิหาร (วิหารเงิน) เพียงแค่ 5 กิโลเมตรไปตามถนนริดิกามะ-เค็ปเปติกาละ รัมโบดะกัลละเริ่มมีความโดดเด่นเมื่อตอนที่เริ่มแกะสลักพระพุทธรูปขนาดใหญ่สุดในศรีลังกาในท่านั่ง พระพุทธรูปองค์นี้สูง 67.5 ฟุตและเพิ่งจะแกะสลักเสร็จไปได้ไม่นานด้วยฝีมือของประติมากรชาวอินเดียใต้ มุธธัยยะ อิสธาปาติ ภายใต้การชี้แนะของเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ริดิวิหาร

img

ริดิวิหาร อยู่ที่ริดิกามะในเขตคุรุเนกาละทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากเมืองคุรุเนกาละไป 20 กิโลเมตรและได้ชื่อว่าเป็นที่ที่มีการค้นพบแร่เงิน (ริดิ) เมื่อตอนที่พระเจ้าดุตุกามุนุสร้างรุวันเวลิสายะที่อนุราธปุระ ว่ากันว่าการค้นพบนี้เป็นนิมิตรหมายอันดีและเป็นโอกาสในการค้นพบงานที่น่าชื่นชมของพระเจ้าดุตุกามุนุ จากนั้นเงินที่ค้นพบจากที่นี่ก็ถูกนำไปมอบให้แก่คนงานก่อสร้างสถูปแห่งนี้

ต่อมาสถานที่ที่พบแร่เงินถูกพัฒนาให้เป็นอารามพุทธและอยู่ในความอนุเคราะห์ของเหล่ากษัตริย์แห่งศรีลังกา ราชมหาวิหารแห่งนี้มีเพิงหินหลายแห่งที่เต็มไปด้วยประติมากรรมและภาพจิตรกรรม โดยส่วนใหญ่มาจากสมัยแคนดี้ วิหารเงินเป็นที่เลื่องลือในเรื่องกรอบประตูงาช้างแกะสลักของวัดและกระเบื้องระบายสี วัดเงินเป็นหนึ่งในวัดพุทธแห่งอาณาจักรแคนดี้

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

คาธาระกามะ คีรีเวเฮระ

img

คีรีเวเฮระ ตั้งอยู่ที่คาธาระกามะในเขตโมนารากาละ ที่นี่เป็นหนึ่งใน 16 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศรีลังกา เชื่อกันว่าคีรีเวเฮระสร้างโดยพระเจ้ามหาเสนา ซึ่งเป็นผู้ปกครองเขตคาธาระกามะ ว่ากันว่าพระเจ้ามหาเสนาได้พบกับพระพุทธเจ้าและฟังธรรมเทศนา จึงสร้างสถูปไว้เป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึง คีรีเวเฮระ

ตั้งอยู่ห่างจากรุหุนุมหาคาธาระกามะเทวาลัยไปทางเหนือ 800 เมตร ต้นโพธิ์ตรงด้านหลังของวัดคือหนึ่งในหน่อแปดหน่อของต้นศรีมหาโพธิ์ที่อนุราธปุระ ซึ่งถูกนำมาปลูกเมื่อศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

อลุวิฮาเร

img

อลุวิฮาเร หรืออโลคาวิหาร ตั้งอยู่ขึ้นไปทางเหนือของเมืองมาตะเลสี่กิโลเมตรไปตามถนนมาตาเล-ดัมบุลละ ที่นี่เป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ซึ่งพระไตรปิฎกภาษาบาลีถูกเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 1 ยุคก่อนคริสตกาลเมื่อช่วงรัชสมัยของพระเจ้าวาละกัมบาหุ เพื่อเป็นการรำลึกถึงมรดกทางประวัติศาสตร์นี้ พระที่วัดนี้ยังคงคัดลอกจารึกทางพุทธศาสนาลงบนใบปาล์มอยู่ในบริเวณวัด

สถานที่แห่งนี้สวยงามเต็มไปด้วยหินก้อนใหญ่และเพิงพักหิน เพิงหินบางแห่งมีจารึกอักขระพราหม์โบราณ และบางแห่งมีการทาสีและเต็มไปด้วยรูปปั้น

วัดถูกเผาทำลายโดยกองทัพอังกฤษเมื่อตอนที่รุกรานแคนดี้ในปี ค.ศ.1803 แต่รัฐบาลอังกฤษก็ซ่อมแซมให้เมื่อปี ค.ศ.1820

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ดัมบุลละ

img

วัดถ้ำดัมบุลละ (หรือที่รู้จักในชื่อวัดทองคำดัมบุลละ) เป็นวัดถ้ำที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการดูแลเป็นอย่างดีของศรีลังกา ตั้งอยู่ที่มาตะเล วัดทองดัมบุลละได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์กรยูเนสโกเมื่อปี 1991 เชื่อกันว่าพระเจ้าวาละกัมบะได้เปลี่ยนถ้ำแห่งนี้ให้กลายเป็นวัดเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่ยึดอำนาจคืนจากผู้บุกรุกชาวอินเดียใต้ วัดถ้ำแห่งนี้วิหารอยู่ห้าแห่ง ได้แก่

  • ถ้ำเทวราชา (เทวราชาลีนา)
  • ถ้ำมหาราชา (มหาราชาลีนา)
  • วัดใหญ่ใหม่ (มหา อลุธ วิหาร)
  • วัดตะวันออก (ปัสฌิมา วิหาร)
  • วันใหม่แห่งที่สอง (เทวานะ อลุธ วิหาร)

ถ้ำเหล่านี้ล้วนมีภาพวาดและพระพุทธรูปอยู่ภายใน โดยมีพระพุทธรูปราว 150 องค์ นอกจากพระพุทธรูปแล้วก็ยังมีรูปปั้นของพระเจ้าวาละกัมบะ พระเจ้านิสสันคามัลละ และเทพวิษณุและเทพซามันอยู่ในถ้ำด้วย มีจารึกอักษรพราหม์อยู่ที่ตรงหลังคาตรงทางเข้าถ้ำแรก ซึ่งมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่าภาพวาดภาพแรกมาจากคริสตศตวรรษที่ 8 มีภาพวาดจำนวนมากที่กินพื้นที่ตั้งแต่พื้นจรดเพดานและผนัง รวมถึงภาพมาระปารจายะ สุวิสสิวิวารนะ ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์นิทานชาดก เชื่อกันว่าภาพวาดสุวิสสิวิวารนะคือภาพวาดจากพื้นจรดเพดานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกยุคโบราณ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

ปิดุรันกาละ ราชมหาวิหาร

img

ปิดุรันกาละ ราชมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตมาตะเลใกล้กับเขตสิกิริยะ ซึ่งเป็นที่รู้จักดี ประวัติศาสตร์ของปิดุรันกาละย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 และ 2 ก่อนคริสตกาล ปิดุรันกาละถูกใช้เป็นอารามในสมัยโบราณ ในรัชสมัยของพระเจ้ากัสยป สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นอารามพุทธที่สำคัญ ดังนั้นจึงเชื่อกันว่า “อัปปลวันนากัสยปคีรีวิหาร” ซึ่งสร้างโดยกษัตริย์คัชยาปะ ตั้งอยู่ที่ปิดุรันกาละนี้ มีสถานที่สำคัญทางโบราณคดีหลายแห่งตั้งอยู่ที่นี่ อาทิ สถูป ที่ประชุมสงฆ์ โพธิการยะ ห้องเทศนาธรรม และห้องจัดแสดงภาพ นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์และซากสถูปให้เห็นอยู่บนหินปิดุรันกาละด้วย

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

อลาฮานะ ปิริเวนะ, โปโลนนารุวะ

img

อลาฮานะ ปิริเวนะ ตั้งอยู่ระหว่างทางเข้าเมืองทางด้านเหนือและอารามกัลวิหารแห่งเมืองเก่าโปโลนนารุวะ อารามแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปาระกรามะบาหุ มหาราชในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยพุทธที่ให้การศึกษาแก่พระสงฆ์จำนวนหลายพันรูปในเวลานั้น สถูปพุทธขนาดใหญ่ที่สุดสองสถูปของโปโลนนารุวะ ได้แก่

รันโคธวิหารและคีรีวิหารตั้งอยู่ในบริเวณอลาฮานะ ปิริเวนะ ห้องจัดแสดงภาพลังกาติลาเก พุทธเสมาปราสาท หรือที่ประชุมสงฆ์ และซากโรงพยาบาลโบราณคือหนึ่งในบรรดาอนุสรณ์ศำคัญที่อลาฮานะ ปิริเวนะ มีกุฏิพระสงฆ์กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

กัลวิหาร – โปโลนนารุวะ

img

กัลวิหารคือสถานที่ที่น่าดึงดูดใจที่สุดในบรรดาอนุสรณ์โบราณที่โปโลนนารุวะ ที่นี่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอลาฮานะ ปิริเวนะ และทางตอนใต้ของเดมาละ มหาเสยะแห่งเมืองโบราณโปโลนนารุวะ กัลวิหารเป็นที่รู้จักในชื่อ “อุตราราม” หมายความว่า “อารามทางทิศเหนือ” ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าปาระกรามะบาหุมหาราชในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 วัดแห่งนี้ประกอบไปด้วยพระพุทธรูปแกะสลักจากหินสามองค์และถ้ำที่มีพระพุทธรูปองค์เล็กประดิษฐานอยู่ ในบรรดาพระพุทธรูปสามองค์

มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ในท่ามหาปรินิพพานหรือการละสังขารของพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปยืนเป็นที่รู้จักจากท่าทางการทำมือที่ประหลาดซึ่งไม่นานมานี้มีการตีความว่าเหมือนกับท่าวัชรหุมการมุทรา พระพุทธรูปปางนั่งมีมีซุ้มที่สวยงามวิจิตรอยู่ด้านหลัง ถ้ำหินแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนั่งที่แกะสลักอย่างสวยงามจากหินเช่นกันและยังมีเสี้ยวส่วนภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำด้วย

มีจารึกสำคัญของที่นี่ซึ่งบันทึกพระวินัยที่พระสงฆ์ต้องยึดถือปฏิบัติหลังจากการประชุมสภาพุทธที่เมืองโปโลนนารุวะเมื่อศตวรรษที่ 12 ด้วยความอนุเคราะห์ของกระเจ้าปาระกรามะบาหุมหาราช

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

รันคธวิหาร เมืองปานาดุระ

img

รันคธวิหาร เมืองปานะดุระ แคว้นกัณทาราคือหนึ่งในวัดพุทธที่เป็นที่รู้จักในศรีลังกา วัดแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1810 โดยพระคุณเจ้าบาทะโปละ กัลญานะติสสะเถระ ศิษย์เอกของท่านศรีคาตะลุเว กุนารัตนะ มหานายะกะเถระ

ตามประวัติศาสตร์วัดแห่งนี้แต่เดิมเป็นกระท่อมหลังน้อยที่เหมืองแห่งหนึ่งที่ปานะดุระ ดังนั้นจึงเป็นที่รู้จักในชื่อกัลวาเล ปันศาลาที่แปลว่า “วัดในเหมือง” และภายหลังจึงถูกเรียกว่ากัลคันดิวิหาร สังหวัสสะขนาดสองชั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1821 และสถูปสร้างขึ้นปี 1863 ในปี 1865 พระบรมธาตุถูกนำมาประดิษฐานไว้ในส่วนโดมของสถูป แต่เมื่อยอดของสถูปถูกหุ้มด้วยทองในปี 1890 ก็กลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อรันคธวิหาร

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

สถูปโสมะวาธี

img

สถูปโสมะวาธีตั้งอยู่ที่เมืองโปโลนนารุวะทางตอนเหนือของแคว้น สถูปแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์กาลริมฝั่งแม่น้ำมหาเวลี

หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าพระธาตุเขี้ยวแก้วด้านขวาประดิษฐานอยู่ที่สถูปนี้ ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าคีรีอภัย สถูปนี้ได้ชื่อตามพระนางโสมะวาธี พระขนิษฐาของพระเจ้าคะวันติสสะ ซึ่งอภิเษกกับเจ้าชายอภัย สถูปแห่งนี้สูง 76 ฟุตและเป็นทรงฟองอากาศ สถูปถูกค้นพบเมื่อต้นศตวรรษที่ยี่สิบและจากนั้นก็ได้รับการบูรณะโดยผู้แสวงบุญชาวพุทธ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

เขาศรีปาดะ

img

ศรีปาดะ หรือ ภูเขาสมานาละ เป็นภูเขาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศรีลังกา นักเขียนชาวตะวันตกรู้จักที่นี่ในชื่ออดัมส์ พีค ภูเขาแห่งนี้สูง 7,400 ฟุตจากระดับน้ำทะเลและเป็นเขตกั้นระหว่างรัตนปุระและนุวาระ เอลิยะ ยอดเขานี้เป็นจุดที่น่าสนใจเพราะเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ศรีปาดะ) มีวัดสำหรับประกอบพิธีกรรมบริเวณข้างรอยพระพุทธบาท นี่เป็นสถานที่แสวงบุญประจำปีของชาวพุทธและถือว่าเป็นหนึ่งใน 16 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศรีลังกา มีเส้นทางหลักสองทาง ได้แก่ รัตนปุระและฮัตตันสำหรับปีนขึ้นมาบนภูเขาแห่งนี้ หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจของศรีปาดะก็คือ ที่นี่ไม่ได้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์ ฮินดู และมุสลิม พวกเขาจึงเดินทางมาแสวงบุญที่ภูเขาแห่งนี้ด้วย

อเล็กซานเดอร์มหาราชได้เคยกล่าวยกย่องสถานที่แห่งนี้ หลวงจีนฟาเหียนและอิบัน บาตุตะ ผู้นับถือศาสนาอิสลามได้เดินทางมาที่นี่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 และ 4 ตามลำดับ ภูเขาแห่งนี้ปกคลุมด้วยป่าไม้บริสุทธิ์และต้องเดินเท้าขึ้นไปเท่านั้น ระหว่างทางมีสถานที่สักการะหลายจุด อาทิ ทิวาคูหา

ซึ่งเป็นถ้ำที่พระพุทธเจ้าเคยทรงหยุดพักขณะมาเยือนครั้งที่สามและเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่ง ชาวพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามาเยือนศรีปาดะตามคำเชิญของเทพเจ้าซามัน เทพเจ้าประจำท้องถิ่นซึ่งแผ่อำนาจอยู่ทั่วเทือกเขาในเวลานั้น ฤดูกาลแสวงบุญมายังเทือกศรีปาดะเริ่มขึ้นวันพระจันทร์เต็มดวงของช่วงดุรุตุ (ธันวาคม-มกราคม) และสิ้นสุดลงในวันพระจันทร์เต็มเดือนของช่วงวิสาขะ (เมษายน-พฤษภาคม) ของแต่ละปี

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

กิริหะดุเสยะ (นิธิปัธปานะ) ในเมืองธิริยายะ

img

กิริหะดุเสยะ ตั้งอยู่ที่เมืองธิริยายะในเขตตรินโคมาลีทางด้านตะวันออก เชื่อกันว่ากิริหะดุเสยะเป็นสถูปแห่งแรกในศรีลังกาที่สร้างโดยพ่อค้าธาปัสสุและบัลลุกะในช่วงที่พระพุทธเจ้ายังคงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ สถูปแห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อนิธิปัธปานะ ในสมัยโบราณสถูปแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “กิริคันดะสถูป” เชื่อกันว่าสถูปกิริหะดุเป็นที่พระดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า

นอกจากนั้นยังมีจารึกภาษาสันสกฤตสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่เผยให้รู้ว่าพระเกศาของพระพุทธเจ้าถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่กิริหะดุที่ธิริยายะ สถูปล้อมรอบด้วยเจดีย์ (วาตะดาเกะ) สถูปที่ล้อมรอบด้วยเจดีย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 32.6 ฟุตและสถูปโบราณที่อยู่ภายในมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 24.9 ฟุต วิหารด้านในสถูปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 79 ฟุต

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

เสรุวิละมังคลา ราชมหาวิหาร

img

เสรุวิละมังคลา ราชมหาวิหาร เป็นวัดพุทธโบราณที่ตั้งอยู่ในเขตตรินโคมาลี เป็นหนึ่งในสถานที่ทางพุทธศาสนา 16 แห่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศรีลังกา วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าคาวันติสสะเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ในปี 1922 สถูปเสรุวิละถูกค้นพบโดยพระคุณเจ้าดัมบากะสาเร สุเมตตันคาระเถระ หลังจากนั้นก็มีการเริ่มต้นบูรณะปฏิสังขรณ์ การบูรณะเสร็จสิ้นเมื่อปี 1931 และเปิดให้สาธารณะชนได้เข้าชม ในปี 1962 สถูปและบริเวณโดยรอบถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนทางโบราณคดี วัดนี้สามารถเข้าถึงได้ทั้งทางบกและทางทะเล

เส้นทางทะเลเริ่มจากตรินโคมาลีไปยังมุตตูร์โดยทางเรือและทางถนนอีก 16 กิโลเมตร ส่วนทางบกใช้เส้นทางจากคันทาลัยไปยังอัลลัย สถูป ต้นโพธิ์ วิหาร ห้องจัดแสดงภาพ ที่ประชุมสงฆ์ และอนุสรณ์อื่นๆ เป็นซากปรักหักพังและตั้งอยู่ภายในเขตวัด ศรีลังกาได้ยื่นเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกต่อองค์กรยูเนสโกเมื่อปี 2006 แต่ยังคงอยู่ในรายการที่ยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

รายละเอียดการติดต่อ

  • นายจีวานะ เฟอร์นันโด
  • รองผู้อำนวยการ – ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
  • หมายเลขติดต่อทั่วไป
  • facebook
  • twitter
  • instagram
  • youtube